ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เผยวิวัฒนาการโควิด19 สู่โอมิครอน - ลูกผสม

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เผยวิวัฒนาการโควิด19 สู่โอมิครอน - ลูกผสม จับตาปี 66 อาจเผชิญโอมิครอนรุ่น 3 ยังไม่ชัดความรุนแรง‼

.

เพจศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์วิวัฒนาการ การอุบัติขึ้นของโอมิครอนรุ่นที่ 1, 2, 3, สายพันธุ์ลูกผสม และ “พาย/Pi” ระบุว่า

.

🔘 ย้อนหลังไป 1 ปี (26 พ.ย. 2564) องค์การอนามัยโลกได้ประกาศแจ้งชื่อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ใหม่ “B.1.1.529” ตามอักษรกรีกว่า “โอมิครอน” มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งโดยเฉพาะส่วนโปรตีนหนาม อาจส่งผลการแพร่ระบาดรวดเร็ว (กว่าสายพันธุ์เดลตา) อาจมีผู้ติดเชื้อ – เจ็บป่วย – เสียชีวิตจำนวนมาก (4 สัปดาห์ พบ “โอมิครอน” ระบาดไปทั่วโลก แทนที่สายพันธุ์ “เดลตา” แต่รุนแรง – เสียชีวิตต่ำกว่าเดลตา)

.

🔘 ต้นปี 2565 โอมิครอน (B.1.1.529)

👉 กลายพันธุ์รุ่นแรก (first generation omicron variants) ตั้งแต่ BA.1, BA.2, BA.4, และ BA.5 ที่ระบาดอยู่ขณะนี้ (ปลายปี 2565)

👉 ต.ค. 2565 BA.5 เริ่มอ่อนกำลังการระบาด พบโอมิครอนรุ่นสอง (second generation omicron variants) เป็นกลุ่มโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย (A soup of omicron subvariants) รุ่นลูก - เหลนของ “BA.2” เช่น BA.2.75, BN.1, CH.1.1, BQ,1, BQ.1.1, BF.7 อุบัติขึ้นมา

👉 เวลาไล่เลี่ยหลายประเทศ พบไวรัสลูกผสม (recombinant variant) ในสองลักษณะ

1⃣ ระหว่างโอมิครอนต่างสายพันธุ์ (เพิ่มตำแหน่งการกลายพันธุ์ได้รวดเร็ว หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีน – ติดเชื้อจากธรรมชาติกว่าโอมิครอนรุ่นสอง)

I. โอมิครอนลูกผสมสองสายพันธุ์ “XBB” (BJ.1 - BA.2.75)

II. โอมิครอนลูกผสมสองสายพันธุ์ “XBD” (BA.2.75 - BA.5.2.1)

III. โอมิครอนลูกผสมสองสายพันธุ์ “XBF” (BA.5.2.3 - BA.5.2.1)

2⃣ ระหว่างสองสายตระกูล “เดลตา” และ “โอมิครอน BA.2” เรียกว่า (เดลตาครอน) พบไม่มาก ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, เกาหลีใต้, ออสเตรีย ฯลฯ ได้แก่ XAY,XBA,XBC, และ XAW (สมมติฐานลูกผสม 2 ตระกูล เกิดจากผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเดลตาเรื้อรังแล้ว ติดเชื้อซ้ำด้วยสายพันธุ์โอมิครอน BA.2 เกิดการแลกเปลี่ยนส่วนของจีโนมในร่างกาย)

👉 XAY และ XBC ยังคงหมุนเวียนอยู่ในหลายประเทศ แต่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ต่างจากโอมิครอนต่างสายพันธุ์ เช่น “XBB” แพร่ระบาดเร็ว – หลบภูมิ (น่ากังวลเดลตาครอน มียีนก่อโรครุนแรงของเดลต้าอยู่ด้วย)

👉 โอมิครอนลูกผสม XBB และ XBB.1 เติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าโอมิครอนรุ่นที่สองทุกสายพันธุ์ (พบในออสเตรีย, อังกฤษ ฯลฯ)

.

🔘 ปี 2566 คาดทั่วโลกอาจมีโอกาสได้เห็นโอมิครอนรุ่นสาม (third generation omicron variants) โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย (รุ่นลูก – เหลน ของ BA.5) ยังไม่อาจคาดคะเนได้ว่าจะมีอาการไม่รุนแรงคล้ายไข้หวัดหรือก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง (severe) จนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากเหมือนในช่วงที่เดลตาระบาดจนองค์การอนามัยโลกต้องให้อักษรกรีกที่จะใช้กับไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ก่อโรครุนแรงตัวถัดจากโอมิครอนคือ π (พาย/Pi) หรือไม่

.

ที่มา : https://www.facebook.com/CMGrama/posts/pfbid0eofi7xd7sGLaBWbZxswFzSMH8xBogfGV6eAC4oCmbexsjzvZkAFUFAQG9dLTJz9Al

#realnewsthailand #ข่าวจริงประเทศไทย #ศูนย์จีโนม #โควิด #โอมิครอน #โรงพยาบาลรามาธิบดี #มหาวิทยาลัยมหิดล


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar